Quantcast
Channel: Democracy Uprising » Thai
Viewing all articles
Browse latest Browse all 7

Globalizers, Neocons, or… ? (in Thai)

$
0
0

ชนชั้นนำผู้เชิดชู “การค้าเสรี” ในสหรัฐฯ รู้สึกหงุดหงิดผิดหวังกับลัทธิชาตินิยมแบบ “ข้า
ทำคนเดียว” ตามแนวความคิดพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ ของคณะรัฐบาล จอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งไม่
ใยดีที่จะนำเอาพวกเครื่องมือแบบร่วมมือกันหลายฝ่าย มาใช้ในการรักษาอิทธิพลของอเมริกาให้
มั่นคง พวกเขาจึงต้องการที่จะดำเนินการ “โจมตีแบบจรยุทธ์” เพื่อที่จะได้หวนกลับคืนไปสู่
จักรวรรดิแห่งโลกาภิวัตน์ภาคบรรษัทซึ่งมีความอ่อนโยนนุ่มนวลมากกว่า เวลานี้ พวกนักโลกาภิ
วัตน์ภาคบรรษัทเหล่านี้กำลังพยายามหาทางเข้าควบคุมทิศทางของนโยบายเศรษฐกิจของ
สหรัฐฯให้ได้ และพวกเขาก็เห็นว่าผู้สมัครของพรรคเดโมแครตนั่นแหละ คือโอกาสที่ดีที่สุดของ
พวกเขา
*รายงานนี้แบ่งเป็นสองตอน นี่คือตอนแรก*
ลองวาดภาพถึงวันที่ 20 มกราคม 2009 วันที่ จอร์จ ดับเบิลยู บุช จะต้องอพยพออกไปจากห้อง
ทำงานรูปไข่ในทำเนียบขาว
ง่ายดายเหลือเกินที่จะจินตนาการกันได้ว่า จะต้องมีการจัดงานปาร์ตี้เพื่อฉลองวาระอันดีเยี่ยมเช่นนี้
โดยที่มีทั้งพวกประท้วงต่อต้านสงคราม, พวกพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน, เหล่าผู้นำชุมชน, นัก
สิ่งแวดล้อม, ผู้รณรงค์ต่อสู้ด้านโครงการประกันสุขภาพ, และผู้นำสหภาพแรงงาน ชวนกันยกแก้วเพื่อดื่ม
ให้แก่การสิ้นสุดของยุคสมัยอันเลวร้าย แม้กระทั่งชาวอเมริกันที่ปกติไม่ใฝ่ใจกับชีวิตทางการเมือง ก็ยัง
อาจรู้สึกอยากจะเข้าร่วมความรื่นเริงบันเทิงใจคราวนี้ โดยนำเอาขวดเครื่องดื่มฟองฟู่ของพวกเขาเองมายัง
งานเลี้ยง
พิจารณาจากเรตติ้งความยอมรับผลงานของประธานาธิบดีที่แทบไม่เคยจะทะลุเกิน 40% ขึ้นมาเลย
ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา และเวลานี้ยืนอย่างดื้อรั้นอยู่แถวๆ 30%หรือต่ำกว่านั้น (อันจัดว่าต่ำสุดเป็น
ประวัติการณ์) มันก็ไม่น่าจะต้องประหลาดใจอะไรเลย ถ้าหากจะมีการเฉลิมฉลองกันอย่างใหญ่โตพอดูใน
วันนั้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าประหลาดใจมากกว่าเสียอีก ก็คือในหมู่ฝูงชนที่มาร่วมเฉลิมฉลองกันนี้ อาจจะ
มีผู้คนกลุ่มหนึ่งซึ่งกำลังดื่มแชมเปญแบรนด์เลิศรสกว่าธรรมดา ท่ามกลางงานเลี้ยงของพวกนักเรียกร้อง
เชิดชูหลักการประชาธิปไตยพื้นฐานทั้งหลาย เราอาจจะได้พบเห็นตัวบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งสูงๆ ในโลก
บรรษัทธุรกิจ เหล่าปัจเจกบุคคลผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเฝ้ารอคอยการขึ้นครองอำนาจของท่านประธานาธิบดีบุช
ผู้จบปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ ทว่าบัดนี้พวกเขาเชื่อแล้วว่าการคุยโตวางก้ามแบบอนุรักษ์นิยมใหม่
ไม่ใช่หนทางที่จะบริหารจักรวรรดิได้
ในบรรดาลักษณะที่ออกจะแปลกพิศดารในยุคสมัยของบุชนั้น อย่างหนึ่งก็คือบุคคลที่อ้างตัวเองเป็น
“นักสร้างความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว”ผู้นี้ กลับกลายเป็นผู้ทำให้เกิดการแตกแยกแบ่งขั้ว ไม่เพียงแต่ใน
สังคมอเมริกันวงกว้างเท่านั้น หากยังภายในหมู่ชนชั้นนำทางธุรกิจและทางการเมืองของสังคมอเมริกัน
ด้วย ชนชั้นนำที่กล่าวถึงนี้คือบุคคลประเภทที่ไปชุมนุมกันในเวทีประชุมสัมมนาประจำปีซึ่งคัดกรอง
ผู้เข้าร่วมอย่างสุดเข้มของ เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีผู้ช่วยที่
จะคอยยื่นคอยรับแลกเปลี่ยนนามบัตรแทนพวกเขา
ถึงแม้บางครั้งพวกเขาดูเข้าสังคมเก่งสนิทสนมกับคนอื่นได้ง่ายดาย ทว่าในเวลานี้ผู้ทรงอำนาจ
จำนวนไม่มากเหล่านี้ กำลังมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องที่ว่าควรจะจัดทรงปรับรูปอำนาจของอเมริกันกัน
อย่างไรในยุคสมัยหลังจากบุช ทั้งนี้พวกเขาจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กำลังกระโดดตีจากถอยหนี เมื่อพวก
พรรครีพับลิกันตัดสินใจเลือกเดินต่อไปตามเส้นทางเดิมที่ได้เดินกันมาหลายปีแล้ว และเวลานี้พวกเขาจึง
กำลังวุ่นอยู่กับการถกเถียงอภิปรายกันว่าจะปกครองโลกใบนี้กันต่อไปอย่างไรดี
อย่าคิดว่าที่พวกเขาทำกันอยู่นี้เป็นเรื่องของการวางอุบายสมคบคิดกันอะไรทำนองนั้น เพราะที่จริง
แล้วมันเป็นการอภิปรายถกเถียงแบบอาศัยสามัญสำนึกอย่างสมบูรณ์ที่สุด ในเรื่องที่ว่านโยบายอะไรบ้าง
ซึ่งจะเอื้ออำนวยผลประโยชน์มากที่สุดแก่พวกเขา ซึ่งเป็นพวกที่ว่าจ้างนักล็อบบี้ในวอชิงตันเป็นโขยง
ตลอดจนเป็นผู้อัดฉีดเงินทองให้แก่ทีมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภา
ทั้งหลาย มีผู้นำทางธุรกิจจำนวนมากที่ยังชมชอบระลึกถึงช่วงหลายๆ ปีแห่ง “การค้าเสรี” ในยุคคณะ
รัฐบาล บิลล์ คลินตัน อันเป็นช่วงเวลาที่เงินเดือนผลตอบแทนของเหล่าซีอีโอบริษัททะยานลิ่วๆ และ
อิทธิพลในทั่วโลกของประดาบรรษัทนานาชาติก็พุ่งสูงโด่ง
พวกเขาปฏิเสธลัทธิทำตามอำเภอใจฝ่ายเดียวของพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ และต้องการเห็นการหวน
กลับมาโฟกัสกันอีกครั้งที่ “อำนาจแบบละมุนนุ่มนวล”ของอเมริกัน ตลอดจนใช้เครื่องมือเพื่อการควบคุม
เศรษฐกิจของอเมริกัน อาทิ ธนาคารโลก, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ), และองค์การ
การค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ซึ่งก็คือบรรดาสถาบันแบบร่วมมือกันหลายฝ่ายที่ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่รู้จักกันใน
แวดวงนโยบายระหว่างประเทศว่า “ฉันทามติวอชิงตัน” (Washington Consensus) พวกนักโลกนิยมภาค
บรรษัทเหล่านี้ กำลังพยายามที่จะเข้าควบคุมทิศทางของนโยบายเศรษฐกิจภายในคณะรัฐบาลชุดใหม่ซึ่ง
จะเป็นคณะรัฐบาลของพรรคเดโมแครต
แทบจะไม่ต้องมาตั้งคำถามอะไรกันเลย ประชาชนส่วนข้างมากบนพื้นพิภพนี้ ผู้ซึ่งต้องทนทุกข์ทั้ง
ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์แบบบรรษัทแห่งยุคคลินตัน และภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์แบบจักรวรรดิแห่งยุค
บุช ย่อมสมควรอยู่แล้วที่จะได้รับสิ่งที่ดีกว่าสองยุคสมัยนั้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความแน่นอนเอาเลยว่า
พวกนักต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งต้องการส่งเสริมให้ใช้วิธีการแบบประชาธิปไตยมากขึ้น
ในเรื่องกิจการของโลก และในเรื่องความเจริญรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโลก จะสามารถมีอิทธิพลต่อคณะ
รัฐบาลอเมริกันชุดใหม่ได้ ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่ง ความเสียหายที่บังเกิดขึ้นจากระยะเวลาแปดปีแห่ง
การปกครองของพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ ตลอดจนปัญหาท้าทายจากสภาพภูมิรัฐศาสตร์ที่น่าหวั่นเกรงมาก
ขึ้นทุกที ก็กำลังก่อให้เกิดปุจฉาอันวิสัชนาให้กระจ่างได้ยากยิ่งสำหรับเหล่านักโลกาภิวัตน์ภาคบรรษัท
เหล่านี้ นั่นคือ ยังเป็นไปได้หรือที่จะหวนกลับไปสู่หนทางเดิมในยุคสมัยก่อนหน้าบุช
** การก่อกบฎของนักบรรษัทนิยม **
ตลอดระยะเวลาที่พวกเขาครองอำนาจ ถึงแม้มีหลักฐานอุดมสมบูรณ์ที่แสดงถึงความล้มเหลวของ
พวกเขา แต่ทั้งบุชและรองประธานาธิบดี ดิ๊ก เชนีย์ ก็ยังคงรักษาความเชื่อมั่นในตนเองแบบไร้สติ โดย
ยืนยันถึงความสำเร็จของพวกเขาในการส่งเสริมผลประโยชน์ของสหรัฐฯ หรืออย่างน้อยก็ผลประโยชน์ของ
พวกผู้บริจาคกระเป๋าหนักระดับ “ไพโอเนียร์” ของพวกเขา (ระดับไพโอเนียร์ คือพวกที่รวบรวมเงินบริจาค
ได้ตั้งแต่ 100,000 ดอลลาร์ขึ้นไปให้แก่การรณรงค์หาเสียงเป็นประธานาธิบดีของบุชในปี 2000 และ
2004 –ผู้แปล) กระนั้นก็ตาม สาธารณชนก็ย่อมสังเกตเห็นได้อยู่บ่อยๆ ว่า พวกที่บอกว่าจงรักภักดีต่อบุช-
เชนีย์ เอาเข้าจริงแล้วกลับกำลังจ้ำอ้าวถอยหนีจากคณะรัฐบาลบุชที่อยู่ในสภาพจมดิ่งลงทุกทีๆ
ตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนตุลาคม 2007 ข่าวของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล ที่พาดหัวไว้ว่า “รีพับลิกัน
คุมเสียงพวกแกนกลางธุรกิจไม่อยู่” รายงานว่าพรรครีพับลิกันอาจจะเผชิญปัญหาวิกฤตในลักษณะเหมือน
ปัญหาทางด้านแบรนด์สินค้าของภาคธุรกิจ เพราะ “ผู้นำธุรกิจบางส่วนกำลังถอยห่างออกจากพรรค
สืบเนื่องจากสงครามในอิรัก, หนี้สินรัฐบาลกลางที่เพิ่มทวีขึ้น, และวาระทางสังคมแบบอนุรักษนิยมที่ผู้นำ
ธุรกิจเหล่านี้ไม่เห็นด้วย”
เมื่อพูดกันถึงเรื่องการตอบสนองของภาคบรรษัทต่อ “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ของ
ประธานาธิบดีบุช ส่วนมากที่สุดเราจะได้ยินเรื่องราวของพวกบริษัทแบบฮัลลิเบอร์ตัน และ แบล็กวอเตอร์
ซึ่งก็คือพวกบริษัทที่พัวพันโดยตรงกับการรุกรานและยึดครองอิรัก และมีความคิดจิตใจแบบนักปล้นสะดม
บริษัทจำพวกนี้มักมีความสามารถดีเยี่ยมในการทำกำไรให้รวดเร็วจากกลไกทางทหารของสหรัฐฯ อย่างไร
ก็ตาม ยังคงมีชาวพรรครีพับลิกันฝ่ายที่เป็นพวกยอมรับความเป็นจริงและใฝ่ใจในทางธุรกิจ ผู้ซึ่งคัดค้าน
การรุกรานคราวนี้มาตั้งแต่เริ่มต้น โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขาเชื่อว่ามันจะส่งผลกระทบทางลบต่อ
เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยิ่งการเสี่ยงภัยในอิรักของคณะรัฐบาลชุดนี้กลายเป็นการถลำจมลงสู่หล่มลึก ขบวน
แถวของพวกที่ไม่พอใจในภาคบรรษัทก็มีแต่เพิ่มมากขึ้น
ชนชั้นนำผู้เชิดชู “การค้าเสรี” ในสหรัฐฯ รู้สึกหงุดหงิดผิดหวังกับลัทธิชาตินิยมแบบ “ข้าทำคนเดียว”
ตามแนวความคิดพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ ของคณะรัฐบาล จอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งไม่ใยดีที่จะนำเอาพวก
เครื่องมือแบบร่วมมือกันหลายฝ่าย มาใช้ในการรักษาอิทธิพลของอเมริกาให้มั่นคง พวกเขาเชื่อว่า วิธี
ดำเนินกิจการต่างประเทศแบบกระหายสงครามเช่นนี้ เป็นการขวางกั้นความเจริญรุดหน้าของกระแสโลกา
ภิวัตน์แบบบรรษัท เซบาสเตียน มัลลาบี ผู้เป็นเชียร์ลีดเดอร์ของพวกนักโลกนิยม ได้เขียนลงในคอลัมน์
ของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อเดือนเมษายน 2006 โดยตั้งคำถามว่า “ทำไมกระแสโลกาภิวัตน์จึง
ชะงักงัน” แล้วก็นำเอาคำประณามในเรื่องนี้มาวางไว้แทบเท้าคณะรัฐบาลบุช มัลลาบีกล่าวหาว่า ทำเนียบ
ขาวไม่มีเจตนารมณ์ที่จะลงทุนทางการเมืองใดๆ ในไอเอ็มเอฟ, ธนาคารโลก, หรือดับเบิลยูทีโอ เขาเขียน
เอาไว้ดังนี้
“เมื่อสิบห้าปีก่อน เคยมีความหวังกันว่าการสิ้นสุดแห่งการแตกแยกแบ่งค่ายของยุคสงครามเย็น จะ
เปิดทางให้บรรดาสถาบันระหว่างประเทศสามารถที่จะยึดเหนี่ยวเกาะเกี่ยวกันได้ใหม่ แต่แล้วพวก
มหาอำนาจยิ่งใหญ่ของทุกวันนี้กลับไม่ได้ให้ความสนใจเอาเลย กับการสร้างระบบแห่งความร่วมมือ
ระหว่างหลายฝ่ายที่มีความยืดหยุ่น … สหรัฐฯยังคงเป็นควอเตอร์แบ็กผู้น่าเชื่อถือเพียงคนเดียวสำหรับ
ระบบความร่วมมือหลายฝ่ายดังกล่าว ทว่าคณะรัฐบาลบุชได้ทำให้ผู้เล่นจำนวนมากเกินไปรู้สึกแปลกแยก
จนยากที่นำทีมได้อย่างทรงประสิทธิภาพ นโยบายการต่างประเทศเสียงดังแข็งกร้าวของพวกเขาตอน
เริ่มต้นนั้น ยังพอเข้าใจได้ว่าเป็นการตอบโต้ต่อความอ่อนแอไร้น้ำยาของมหาอำนาจรายอื่นๆ แต่ลัทธิทำ
ตามอำเภอใจฝ่ายเดียวเช่นนี้ก็ได้ส่งผลด้านกลับอันน่าเศร้า และกำลังทำลายโอกาสไม่ว่าจะเหลือน้อยนิด
แค่ไหน ในการที่จะใช้หนทางเลือกแบบความร่วมมือหลายฝ่ายซึ่งยังใช้การได้ผล”
บุคคลจำนวนมากในหมู่ชนชั้นนำทางธุรกิจซึ่งหงุดหงิดผิดหวังกับความบกพร่องล้มเหลวของบุช จึง
ต้องการที่จะหวนกลับไปสู่จักรวรรดิแห่งโลกาภิวัฒน์แบบบรรษัทซึ่งมีความอ่อนโยนนุ่มนวลมากกว่า และ
พวกเขาก็กำลังมองกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ฝ่ายพรรคเดโมแครตนั่นแหละที่จะนำทางสู่การเลี้ยวกลับดังกล่าว
นักวิเคราะห์การเมือง เควิน ฟิลลิปส์ ได้เขียนเอาไว้ในหนังสือเล่มใหม่ของเขาที่ชื่อ “Bad Money” ซึ่ง
นับเป็นหนึ่งในตัวอย่างของปรากฏการณ์มุ่งไปในทิศทางดังกล่าวนี้ โดยเขาชี้ว่า เมื่อปี 2007 “พวกลูกจ้าง
ของเหล่ากองทุนเฮดจ์ฟันด์ มีการบริจาคเงินช่วยการรณรงค์หาเสียง ให้แก่คณะกรรมการรณรงค์หาเสียง
เป็นวุฒิสมาชิกของทางพรรคเดโมแครต มากกว่าที่ให้แก่คณะกรรมการคู่แข่งของพรรครีพับลิกัน ใน
อัตราส่วนเป็นตัวเลขกลมๆ เท่ากับ 9 ต่อ 1 ทีเดียว”
การก่อกบฎอย่างเงียบๆ ของพวกนักบรรษัทนิยมเช่นนี้ กำลังก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนที่น่าสนใจใน
เส้นทางเดินของการรณรงค์หาเสียงคราวนี้ ระดับฐานรากของพรรคเดโมแครตนั้นได้ปฏิเสธอย่างชัดเจน
ต่อแนวความคิด “การค้าเสรี” เวอร์ชั่นที่เน้นหลักการเศรษฐศาสตร์แบบจากบนลงสู่ล่าง ซึ่งมีแต่ประสบ
ความสำเร็จในการช่วยเหลือพวกผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ตลอดจนพวกผู้บริหารภาคธุรกิจที่ไปไหนมา
ไหนด้วยเครื่องบินไอพ่นส่วนตัว ยิ่งกว่าจะสามารถช่วยเหลือคนอื่นๆ ในระดับแถวล่างลงมาของขั้นบันได
ทางเศรษฐกิจ
ผลก็คือ ทั้งวุฒิสมาชิกบารัค โอบามา และวุฒิสมาชิกฮิลลารี คลินตัน ต่างกำลังหาเสียงโดยวางตัว
เป็นศัตรูของข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟตา) และศัตรูของข้อตกลงการค้าสองฝ่ายฉบับใหม่ที่
สหรัฐฯจะทำกับโคลอมเบีย ประเทศซึ่งการวิ่งเต้นจัดตั้งสหภาพแรงงานหรือการส่งเสียงดังๆ เรียกร้องสิทธิ
มนุษยชนอาจจะกลายเป็นอันตรายถึงชีวิตได้อย่างง่ายดาย น้ำเสียงหลักของการรณรงค์หาเสียงในเวลานี้
นับว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญจากของช่วงทศวรรษ 1990 เมื่อพวกผู้สมัครระดับตัวเก็งสำคัญของ
พรรคเดโมแครต ต่างพยายามวางตัวเองว่าเป็นผู้สนับสนุนภาคบรรษัทอย่างแท้จริง ตลอดจนประสาน
มาตรการวิธีการที่พวกเขาคิดจะนำมาใช้ ให้เข้ากันได้กับนโยบายเศรษฐกิจแบบอนุรักษนิยม
กระนั้นก็ตาม ทั้งโอบามาและคลินตันก็ยังคงกำลังถูกแวดล้อมด้วยพวกที่ปรึกษาผู้เป็นมิตรกับภาค
ธุรกิจ และทัศนะของคนเหล่านี้ก็สามารถสอดรับได้อย่างเหมาะเจาะกับกระบวนทัศน์แห่งกระแสโลกาภิ
วัตน์แบบบรรษัทของคณะรัฐบาลชุดก่อนหน้าบุช แต่ความตึงเครียดขัดแย้งระหว่างเหล่านักเคลื่อนไหว
ต่อต้านนาฟตาในระดับฐานรากของพรรค กับพวกที่ได้เข้าไปอยู่ในห้องวอร์รูมของทีมรณรงค์หาเสียง ก็
ยังคงส่งผลให้เกิดกรณีผิดมารยาทอันฉาวโฉ่น่าอับอายขายหน้าขึ้นมาบ้าง ในระหว่างกระบวนการแข่งขัน
เลือกตั้งขั้นต้นเพื่อหาผู้ที่จะได้เป็นผู้สมัครของพรรคเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
สำหรับฝ่ายของฮิลลารี คลินตัน กรณีซึ่งเตะตาที่สุดนั้น เกี่ยวพันกับหนึ่งในบุคคลระดับหัวหน้านัก
ยุทธศาสตร์ของเธอ นั่นคือ มาร์ก เพนน์ บุรุษผู้มีประวัติความเป็นมาอันเลวร้ายยาวเหยียดในเรื่องการ
ปกป้องคุ้มครองการกระทำผิดของภาคบรรษัท จากการมีอาชีพเป็นนักล็อบบี้คนหนึ่งในกรุงวอชิงตันมา
นานปี ตามที่ได้มีการเปิดโปงออกมานั้น บริษัทที่ปรึกษาของเพนน์ได้รับเงินจำนวน 300,000 ดอลลาร์ใน
ปี 2007 เพื่อหาทางสนับสนุนผลักดันข้อตกลง “การค้าเสรี” กับประเทศโคลอมเบีย ทั้งๆ ที่ตัวคลินตันเอง
กำลังประกาศก้องว่าเธอคัดค้านข้อตกลงดังกล่าวนี้ด้วยความรู้สึกแท้จริงจากขั้วหัวใจ อีกทั้งกำลังตอกย้ำ
ถึง “ประวัติศาสตร์แห่งการกดขี่ปราบปรามและการหมายหัวสังหารผู้จัดตั้งขบวนการแรงงาน”ในประเทศ
นั้น แต่ผู้เล่นคนสำคัญคนหนึ่งในทีมรณรงค์หาเสียงของเธอ กลับกำลังวางแผนยุทธศาสตร์ร่วมกับพวก
เจ้าหน้าที่รัฐบาลโคลอมเบีย เพื่อให้ข้อตกลงฉบับนี้ผ่านออกมามีผลบังคับใช้
ทีมรณรงค์หาเสียงของโอบามาก็พบตัวเองอยู่ในสภาพอิหลักอิเหลื่อทำนองเดียวกันนี้เมื่อเดือน
กุมภาพันธ์ โดยขณะที่ผู้สมัครรายนี้กำลังหาเสียงอยู่ในสนามเลือกตั้งขั้นต้นมลรัฐโอไฮโอ ด้วยการ
ประกาศตัวเป็นผู้คัดค้านข้อตกลงนาฟตา และเรียกมันว่าเป็น “ความผิดพลาด”ที่สร้างความเสียหายให้แก่
ประชาชนผู้ใช้แรงงาน ปรากฏว่าที่ปรึกษาอาวุโสด้านนโยบายเศรษฐกิจของเขา ศาสตราจารย์ ออสแทน
กูลสบี แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ก็กำลังพบปะหารืออยู่กับพวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลแคนาดา รัฐสมาชิกอีกราย
หนึ่งของข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือโดยศาสตราจารย์ผู้นี้ได้ไปอธิบาย (ซึ่งทางแคนาดาระบุว่ามี
การทำเป็นบันทึกช่วยจำ) ว่าข้อกล่าวหาต่างๆ ต่อข้อตกลงนาฟตาของโอบามานั้น เป็นเพียง “การ
เสริมสร้างที่มั่นทางการเมือง” เท่านั้นเอง
กูลสบีรีบออกมาอ้างทันทีว่า จุดยืนของเขาถูกบิดเบือนจนผิดไปจากอุปนิสัยของเขา ทว่าเหตุการณ์
คราวนี้ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องก่อให้เกิดคำถามหลายๆ ข้อ ตัวอย่างเช่น ทำไมกูลสบี ซึ่งเป็นนัก
เศรษฐศาสตร์อาวุโสให้กับ สภาคณะผู้นำพรรคเดโมแครต อันเป็นองค์กรชั้นนำของพวกปีกขวาภายใน
พรรคที่เป็นมิตรกับภาคบรรษัท และเป็นบุคคลผู้ได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็น “แหล่งที่มาของคำแนะนำ
อันมีคุณค่าเกี่ยวกับการค้าเสรีมาเป็นเวลาเกือบทศวรรษแล้ว” จึงได้รับการวางฐานะให้เป็นผู้หล่อหลอม
กำหนดจุดยืนต่างๆ ในทางเศรษฐกิจของโอบามามาตั้งแต่ตอนเริ่มแรก


Viewing all articles
Browse latest Browse all 7

Latest Images

Trending Articles



Latest Images